มูลนิธิโตโยต้าโมบิลิตี้ต่อ ยอดความร่วมมือ ขยายผลสู่"โครงการพระราม 4 โมเดล" แก้ปัญหาการจราจรอย่างยั่งยืน
นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากรกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคมนายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล รองผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่งตัว แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติดร.ศุภชัย ตั้งใจตรง รองกรรมการผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลง กรณ์ ,นายซิน อาโอยาม่า ประธานคณะเลขาธิการมูลนิธิโตโยต้า โมบิลีตี้ (Toyota Mobility Foundation) และนายนินนาท ไชยธีรภิญโญประธานคณะกรรมการบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทยจำกัด ร่วมแถลงข่าวโครงการพระราม 4 โมเดล เพื่อการแก้ไขการจราจรอย่างยั่งยืน
โครงการสาทรโมเดลเริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน 2557 ด้วยความร่วมมือระหว่างภาครัฐจุฬาลงกรณ์ มูลนิธิโตโยต้า โมบิลีตี้ และบริษัท โตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรอย่างเป็นระบบบนถนนสาทรและบริเวณโดยรอบในรูปแบบต่างๆเช่นโครงการจอดแล้วจร, มาตรการรถรับส่ง ,มาตรการเหลื่อมเวลาทำงานและมาตรการบริหารจัดการจราจรเป็นต้น ซึ่งผลการดำเนินงานพบว่าการจราจรบนถนนสาทรมีความคล่องตัวเพิ่มขึ้น 12.6% โดยความเร็วในการเดินรถเพิ่มขึ้นจาก 8.8 เป็น 14.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและความยาวแถวลดลง 1 กิโล เมตรในชั่วโมงเร่งด่วนซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ของความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนร่วมกัน
ซึ่งครั้งนี้จะเป็นการต่อยอดและขยายผลจากแผนงานของโครงการสาธโมเดล ภายใต้ชื่อ"โครงการพระราม 4 โมเดล" โดยมีจุดประสงค์ในการใช้ข้อมูลขั้นสูงเพื่อลดปัญหาการจราจรบนถนนพระราม 4 ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนา คม,กรุงเทพมหานคร,กอง บัญชาการตำรวจนครบาล, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมูลนิธิโตโยต้าโมบิลีตี้ โดยมีระยะการดำเนินงานเป็นเวลา 18 เดือนตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 ถึงต้นปี 2564
ทั้งนี้มูลนิธิโตโยต้า ได้ให้การสนับสนุนเงิน 50 ล้านบาท เพื่อการดำเนินโครงการโดยมีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรโดยใช้ข้อมูลอันหลากหลายอาทิเช่น ข้อมูล GPS จากรถของแกร็บ และรถขนส่งสาธารณะ ภาพจากกล้อง CCTV และเซ็นเซอร์ต่างๆร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและคาดการณ์สภาพจราจรล่วงหน้า อย่าง AI และ Machine Learning ผนวกกับองค์ความรู้จากผู้เชี่ยววชาญด้านเทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญด้านการจราจร(Mobility Expert) ทั้งจากภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา อาทิ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาบัย ,มูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย(lntelligent Traffic lnformation Center:iTlC ) สารบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียและ (Asian lnstitute of Technology) โดยมี Siametrics นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากผู้มีความชำนาญด้านโมบิลีตี้อย่าง แกร็บ (Grab) และเวย์แคร์ (WayCare)โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้สามารถเข้าใจเงื่อนไขและสภาพการจราจร ณ ปัจจุบัน มีความเข้าใจแนวโน้มและรูปแบบการจราจรเพื่อจัดการปัญหาการจราจรในอนาคต หรือแม้กระทั่งเข้าใจรายละเอียดเชิงลึกเพื่อมาออกแบบเป็นระบบจราจรโครงข่ายการขนส่งและการปรับปรุงผังเมืองให้เหมาะสม
#มูลนิธิโตโยต้าโมบิลิตี้
#โตโยต้ามอเตอร์ประเทศไทย
#gpsเส้นทางโฟกัส
#www.gpssentangfocus.com
Comments